เปิดโฉม 8 สตาร์ทอัพ เข้ารอบ “Decarbonize Thailand Startup Sandbox”
เปิดรายชื่อ 8 สตาร์ทอัพ ผ่านเข้ารอบโครงการ “Decarbonize Thailand Startup Sandbox” หรือ DTS พื้นที่สร้างนวัตกรรม จับคู่สตาร์ทอัพกับบริษัทชั้นนำภาคอุตสาหกรรมไทย ร่วมพัฒนาโซลูชั่นลดคาร์บอน ขับเคลื่อนสู่เป้าหมายการลดคาร์บอน

โครงการ DTSเป็นความร่วมมือของบริษัททรู ดิจิทัล พาร์ค จำกัดและนิวเอนเนอร์จี้ เน็กซัส องค์กรไม่แสวงหากำไรด้านการส่งเสริมเทคโนโลยีสะอาดระดับโลก และพันธมิตรชั้นนำจากภาคเอกชน ได้แก่ บมจ. บี.กริม เพาเวอร์, เครือเจริญโภคภัณฑ์, บมจ.ไออาร์พีซี, บมจ. ปตท.และ บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น
ซึ่งสตาร์ทอัพ 8 ทีม ที่ผ่านเข้ารอบจะได้รับการบ่มเพาะจากผู้เชี่ยวชาญระดับแนวหน้าของประเทศอย่างเข้มข้นตลอด 3 เดือน เพื่อร่วมพัฒนาโซลูชั่นนวัตกรรมลดคาร์บอนที่ตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรม แบ่งออกเป็น
สตาร์ทอัพที่ได้จับคู่ร่วมมือกับ บมจ.บี.กริม เพาเวอร์ ได้แก่
Annea
สตาร์ทอัพจากประเทศเยอรมนีที่มุ่งเน้นเรื่องการสร้างประสิทธิภาพการผลิตพลังงานหมุนเวียน
ด้วยเครือข่ายอัจฉริยะ
โดยใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์อัตโนมัติ
(Predictive Maintenance)
สำหรับโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนทุกประเภท
ที่สามารถทำนายประสิทธิภาพการทำงานและตรวจสุขภาพของเครื่องจักรล่วงหน้า
เพื่อยืดอายุการใช้งานและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพลังงานหมุนเวียนอย่างชาญฉลาด
PAC Corporation
สตาร์ทอัพสัญชาติไทย
ที่มุ่งเน้นเรื่องการสร้างโซลูชั่นด้านพลังงานในระบบปรับอากาศ
และการใช้น้ำในภาคอุตสาหกรรม
โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาควบคุมระบบน้ำร้อน และเครื่องปรับอากาศ
ซึ่งจะช่วยอนุรักษ์พลังงานและช่วยลดค่าไฟฟ้า
อย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
สตาร์ทอัพที่ได้จับคู่ร่วมมือกับเครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้แก่
ETRAN
สตาร์ทอัพสัญชาติไทย
ที่มุ่งเน้นเรื่องการสร้างนวัตกรรมด้านยานพาหนะไฟฟ้า
และการขนส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ด้วยพัฒนาโซลูชั่นด้านการขนส่งที่ยั่งยืน
โดยมุ่งเน้นการให้บริการด้านรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนไทยด้วยพลังงานสะอาด
AltoTech
สตาร์ทอัพสัญชาติไทย ที่มุ่งเน้นเรื่องการใช้เทคโนโลยีดิจิตัล AIoT
ด้วยการพัฒนาแพลตฟอร์ม Alto Energy Edge สำหรับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม
โดยสามารถวิเคราะห์ ตรวจสอบ และจัดการการใช้พลังงาน ของโรงแรม อาคาร
ร้านค้า เพื่อส่งเสริมความเป็นเมืองอัจฉริยะ
ด้วยการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
สตาร์ทอัพที่ได้จับคู่ร่วมมือกับ บมจ.ไออาร์พีซี ได้แก่
Thai Carbon
สตาร์ทอัพที่ก่อตั้งในประเทศไทย
โดยผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมเคมีชาวต่างชาติ
ที่มุ่งเน้นเรื่องการผลิตวัสดุชีวภาพขั้นสูง (advanced bio-based
material) จากการถ่ายชีวภาพ (biochar)
เพื่อใช้ในการกักเก็บคาร์บอนและเป็นวัสดุในภาคอุตสาหกรรม
ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากวัสดุเหลือทิ้งในภาคการเกษตร
และสามารถนำไปผลิตพลังงานทดแทนที่จะช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลได้อีกด้วย
Krosslinker
สตาร์ทอัพจากประเทศสิงคโปร์ ที่ใช้เทคโนโลยีวัสดุขั้นสูง
มาสร้างฉนวนกันความร้อนแบบใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยไม่ก่อให้เกิดมลพิษจากกระบวนการผลิตที่ใช้พลังงานต่ำกว่าการผลิตฉนวนกันความร้อนทั่วไป
เพื่อนำไปใช้ในการอนุรักษ์และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอุตสาหกรรมการผลิตขั้นสูง
สตาร์ทอัพที่ได้จับคู่ร่วมมือกับ บมจ. ปตท. ได้แก่
ReJoule’s
สตาร์ทอัพจากประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มุ่งเน้นอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า
พัฒนาระบบตรวจสอบสุขภาพแบตเตอรี่ของรถยนต์ไฟฟ้า
ที่จะช่วยยืดอายุการใช้งานและเพิ่มมูลค่าของแบตเตอรี่ทุกก้อน
ทำให้ระบบจัดเก็บพลังงานของแบตเตอรี่มีประสิทธิภาพสูงสุด
และสร้างวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนโดยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว
TIE-con
สตาร์ทอัพสัญชาติไทย
ที่มุ่งเน้นเรื่องการอนุรักษ์พลังงานในอาคารด้วยเทคโนโลยีดิจิตัล
เพื่อสร้างประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคารสำนักงานและตึกสูง
ด้วยโซลูชั่นระบบจัดการพลังงานอัจฉริยะภายในอาคารและโรงงานด้วย IoT
(Internet of Thing) และปัญญาประดิษฐ์ (AI)
ซึ่งจะช่วยลดการใช้พลังงานในอาคาร
และสามารถวางแผนการบำรุงรักษาระบบพลังงานในอาคารได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ สตาร์ทอัพทั้ง 8 ทีม จะได้เข้าร่วม “Decarbonize Thailand Startup Sandbox” เป็นระยะเวลา 3 เดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม - 31 ตุลาคม 2565 พร้อมได้จับคู่ร่วมมือกับบริษัทชั้นนำของประเทศไทยในการพัฒนาโซลูชั่นให้ออกมาเป็น Proof of Concept (PoC) เพื่อร่วมสร้างนวัตกรรมลดคาร์บอนให้แก่ภาคอุตสาหกรรม อีกทั้งร่วมพัฒนาเป็นโซลูชั่นและนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ทั้งต่อการเติบโตของสตาร์ทอัพและภาคธุรกิจ
รวมถึงการได้รับโอกาสผลักดันขยายธุรกิจไปสู่ตลาดต่างประเทศ ขณะเดียวกัน สตาร์ทอัพแต่ละทีมจะได้รับการสนับสนุนสภาพแวดล้อมและทรัพยากรที่เหมาะสมในการทำงาน
ทั้งการเข้าร่วม Masterclass Workshops, การให้คำปรึกษาด้านการทดสอบและพัฒนาโซลูชั่นจาก Corporate Mentor และผู้เชี่ยวชาญในภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการอำนวยความสะดวกพื้นที่ในทำงาน
สำหรับการดำเนินงานระยะต่อไปของโครงการ “Decarbonize Thailand Startup Sandbox” จะจัดงาน DTS Symposium ในเดือนพฤศจิกายน 2565 ซึ่งเป็นการประชุมสัมมนาและกิจกรรมสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างสตาร์ทอัพ ภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรชั้นนำจากอุตสาหกรรมต่าง ๆ พร้อมกันนี้ สตาร์ทอัพในโครงการจะได้ร่วมแสดงโซลูชั่นการสร้างนวัตกรรมลดคาร์บอนต่อภาคธุรกิจ ภาครัฐ ผู้เชี่ยวชาญและผู้คนในวงการอุตสาหกรรม
นอกจากนี้ ภายในงานยังมีนักวิจัย นักเศรษฐศาสตร์ และผู้ที่เกี่ยวข้องในด้านสิ่งแวดล้อมและนวัตกรรม มาร่วมระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับความท้าทาย โอกาส และอนาคตของประเทศไทยต่อวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเปลี่ยนผ่านประเทศ เพื่อร่วมขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero) ภายในปี 2065 ตามนโยบายของรัฐบาล ตลอดจนร่วมสร้างอุตสาหกรรมใหม่จากคาร์บอนเพื่อร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย (Thailand’s Zero Carbon Economy) ในระยะยาว
คุณกำลังดู: เปิดโฉม 8 สตาร์ทอัพ เข้ารอบ “Decarbonize Thailand Startup Sandbox”
หมวดหมู่: ข่าวเศรษฐกิจ/ธุรกิจ
แหล่งที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1019093
บทความที่เกี่ยวข้อง:
- ธ.ก.ส. เตือนอย่าหลงเชื่อผู้แอบอ้างปล่อยสินเชื่อบนสื่อสังคมออนไลน์
- ส.อ.ท.มองขัดแย้งจีน-ไต้หวัน หนุนส่งออกไทย
- ธ.ก.ส.คาดข้าวหอมฯ-มันสำปะหลังราคาขยับ
- "สตาร์ทอัพ" สายพันธุ์ใหม่ ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร ถึงมีโอกาสรุ่งในยุคโควิด
- พฤกษารุกเฮลท์เทคร่วมทุน“AMILI”สตาร์ทอัพสิงคโปร์
- ถอดสูตร “คงกระพัน อินทรแจ้ง” เมื่อ “เน็ตซีโร่” คือทางรอดของ “จีซี”