ฝุ่นพิษหนาทึบ คนกทม.กระอัก 70 พื้นที่กรุงฯ "ชัชชา" ติถกแก้แผนฝนหลวง ช่วยภาคเหนือ

43 จังหวัดยังจมฝุ่น PM 2.5 ฟุ้งเกินมาตรฐาน พิษณุโลกเมือง สองแควแชมป์ค่าฝุ่นสูงสุด เตือนวันที่ 4 ก.พ. พื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล และ 17 จ.เหนือค่าฝุ่นสูงรองอธิบดีกรมฝนหลวงเปิดศูนย์ทำฝนบรรเทาหมอกควัน-ฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่ภาคเหนือ ส่วนกรุงเทพมหานครฝุ่นเกิน 70 พื้นที่ เริ่มมีผลกระทบ 39 พื้นที่ กระทบแล้ว 31 พื้นที่ “ชัชชาติ” ชี้ลมใต้หอบฝุ่นขึ้นเหนือช่วยสถานการณ์ กทม.ดีขึ้น เดินหน้ารถฉีดน้ำในชุมชน
เมื่อวันที่ 3 ก.พ. ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศ ภาพรวมปริมาณฝุ่น PM2.5 ในประเทศพบเกินค่ามาตรฐานใน กทม. รวมทั้ง จ.ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรปราการ เชียงราย เชียงใหม่ น่าน แม่ฮ่องสอน พะเยา ลำปาง แพร่ ลำพูน อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ อุทัยธานี สิงห์บุรี ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ราชบุรี สมุทรสงคราม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี บึงกาฬ เลย อุดรธานี นครพนม หนองบัวลำภู ชัยภูมิ นคร ราชสีมา และบุรีรัมย์
ภาคเหนือ เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 34-154 มคก./ลบ.ม. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 29-96 มคก./ลบ.ม. ภาคกลางและตะวันตก เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 48-117 มคก./ลบ.ม. ภาคตะวันออก เกินค่ามาตรฐาน 4 พื้นที่ ตรวจวัดได้ 32-79 มคก./ลบ.ม. ส่วนกรุงเทพฯและปริมณฑล โดยสถานีตรวจวัดของกรมควบคุมมลพิษร่วมกับ กทม. เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 54-119 มคก./ลบ.ม. กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ คาดการณ์สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็กในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล ในวันที่ 4 ก.พ. ควรเฝ้าระวังการสะสมของฝุ่นละออง เนื่องจากสภาพอากาศที่นิ่งและปิด พื้นที่ที่ควรเฝ้าระวัง ได้แก่ พื้นที่กรุงเทพฯกลาง กรุงธนเหนือ และใต้ (พื้นที่ท้ายลม) ขณะที่พื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือควรเฝ้าระวังบริเวณภาคเหนือตอนบนและล่าง โดยเฉพาะช่วงวันที่ 4 ก.พ.
ที่ จ.อุทัยธานี ผู้สื่อข่าวขึ้นไปบนยอดเขาสะแกกรัง
เขตตัวเมืองอุทัยธานี สำรวจสภาพอากาศ พบทัศนวิสัยไม่ดี
เนื่องจากมีฝุ่นจิ๋วลอยปกคลุมเหนือบริเวณตัวเมืองอุทัยธานีจำนวนมาก
บดบังทัศนียภาพมุมสูงจนมองไม่เห็นวิวทิวทัศน์หรือตัวเมืองอุทัยธานี
โดยในตัวเมือง ช่วงเช้าวัดค่าฝุ่น PM2.5 จากแอปพลิเคชัน Air4thai
ของกรมควบคุมมลพิษ ได้ 93 มคก./ลบ.ม. (สีแดง) ส่วนสภาพอากาศโดยรวม AQI
วัดได้ 203 AQI สีแดง มีผลกระทบต่อสุขภาพ
ที่ จ.พิษณุโลก
จากสถานการณ์ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เพิ่มสูงขึ้นถึงจุดมีผลกระทบต่อสุขภาพต่อเนื่องมา
2 วัน โดยเครื่องตรวจวัดที่ติดตั้งอยู่ภายในเขตเทศบาลนครพิษณุโลกทั้ง
8 จุด เป็นสีแดงทั้งหมด ตรวจพบค่าฝุ่น PM 2.5 (เมื่อเวลา 12.00 น.
วันที่ 3 ก.พ.) ในเขต อ.เมืองพิษณุโลกอยู่ในระดับ 152 มคก./ลบ.ม. หรือ
262 AQI เกินค่ามาตรฐาน ที่กำหนดสูงสุดในประเทศไทย
เนื่องจากพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกได้รับผลกระทบจากมวลอากาศเย็นจากประเทศจีน
อีกกระแสหนึ่งมาจากลมตะวันตก
ส่งผลให้นำเอาฝุ่นละอองจากพื้นที่จังหวัดใกล้เคียงมาปกคลุมพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก
ทำให้สภาพอากาศขมุกขมัวโดยทั่วไป เบื้องต้นนายภูสิต สมจิตต์
ผวจ.พิษณุโลก
พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชุมเร่งแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเร่งด่วน
พร้อมติดตามสภาพอากาศทุกๆ 7 วัน
เนื่องจากมีผลกระทบต่อประชาชนในการใช้ชีวิตประจำวัน
ขณะเดียวกัน นางเปรมฤดี ชามพูนท นายก เทศมนตรีเทศบาลนครพิษณุโลก เรียกประชุมด่วนหัวหน้าส่วนราชการต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาทางแก้ปัญหาและรับมือจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยให้ออกประกาศแจ้งเตือนประชาชนว่าถึงคุณภาพอากาศที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ พร้อมกับส่งรถน้ำออกล้างถนนสายต่างๆ โดยเฉพาะสายหลัก อาทิ ถนนเอกาทศรถ ถนนสายบรมไตรโลกนาถ ถนนพระลือ ลดความเข้มข้นของฝุ่นลง นำรถน้ำออกฉีดในพื้นที่สวนสาธารณะเพื่อเพิ่มความชื้นในอากาศ ลดฝุ่นที่เกาะตามใบไม้ลง

ที่ศูนย์ติดตามสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ศาลาว่าการ กทม.ดินแดง นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม.เปิดเผยว่า หลังเวลา 22.00 น. วันที่ 2 ก.พ.สถานการณ์ฝุ่นเริ่มดีขึ้นมากเนื่องจากลมเปลี่ยนทิศ มีลมทางใต้พัดขึ้นมา (ลมว่าว) แรงขึ้น ช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา สถานการณ์ฝุ่นสูงเนื่องจากแรงลมตะวันออกพัดปะทะลมใต้ทำให้ฝุ่นลอยวนในพื้นที่กรุงเทพฯ ปัจจุบันลมใต้มีกำลังแรงกว่า พัดอากาศจากทะเลขึ้นมาแทนที่ ทำให้ฝุ่นจากกรุงเทพฯเริ่มขยับตัวเข้าเขต จ.พระนครศรีอยุธยา ขึ้นไปทิศเหนือของประเทศไทยมากขึ้น จากการคาดการณ์ หลังวันที่ 5-6 ก.พ. ลมใต้จะพัดแรงขึ้น อย่างไรก็ตาม แรงลมยังมีการปะทะและผันผวน ต้องเฝ้าระวังอีก 1-2 วัน
นายชัชชาติกล่าวว่า ได้ทดลองนำรถฉีดละอองน้ำบรรเทาฝุ่นทั้งหมด 6 คัน ของ กทม.ไปใช้ที่สวนเบญจกิติพบว่า ขณะฉีดน้ำค่าฝุ่นลดลงจาก 160 มคก./ลบ.ม. เหลือ 97 มคก./ลบ.ม. เมื่อเลิกฉีดน้ำค่าฝุ่นกลับมาสูงเท่าเดิม เนื่องจากปริมาณฝุ่นสูง อาจต้องใช้เฉพาะจุด เช่น ชุมชนหนาแน่นหรือจุดที่มีกลุ่มเปราะบาง จะช่วยได้ระดับหนึ่งหากฉีดต่อเนื่องและใช้น้ำสะอาด จะเริ่มใช้รถฉีดน้ำที่เขตคลองเตยและตามชุมชนต่างๆ ยืนยันว่า กทม.ใช้น้ำสะอาดจากการประปา ปริมาณน้ำคันละ 10,000 ลิตร ฉีดต่อเนื่องได้หลายชั่วโมง ไม่เป็นอันตรายต่อการสัมผัส ข้อดีของการฉีดน้ำคือ สร้างความชุ่มชื้น ลดการฟุ้งกระจายของฝุ่นบนพื้น ส่วนจุดที่มีการเผาทั่วประเทศ พบมี 1,500 จุด ปัจจุบันลดเหลือ 1,164 จุด ส่วนใหญ่พบรอบกรุงเทพฯและประเทศเพื่อนบ้าน จากการตรวจสอบลมใต้ที่พัดผ่านทะเลขึ้นมาถึง กทม.ไม่พัดผ่านจุดที่มีการเผาไหม้ ทำให้สถานการณ์ฝุ่นดีขึ้น ทั้งนี้ หลังวันที่ 5 ก.พ.เป็นต้นไป หากลมใต้พัดสม่ำเสมอ สถานการณ์ฝุ่นในกรุงเทพฯจะดีขึ้น
วันเดียวกันศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศ กรุงเทพ มหานคร รายงานสรุปผลการตรวจวัดฝุ่น PM 2.5 เวลา 05.00-07.00 น. วัดได้ 61-116 มคก./ลบ.ม. ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 85.2 มคก./ลบ.ม. ค่า PM 2.5 ทั้งนี้ ณ เวลา 07.00 น. ตรวจวัดค่าฝุ่น PM 2.5 ได้ 61-105 มคก./ลบ.ม. (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) เกินมาตรฐานจำนวน 70 พื้นที่ อยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ 39 พื้นที่ และมีผลกระทบต่อสุขภาพ 31 พื้นที่ ได้แก่ 1.ห้างสรรพสินค้าซีคอน สแควร์ 105 มคก./ลบ.ม. 2.เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 มีค่า 104 มคก./ลบ.ม. 3.ทางเข้าสนามหลวง 2 103 มคก./ลบ.ม. 4.ภายในสำนักงานเขตบึงกุ่ม 101 มคก./ลบ.ม. 5.สี่แยกหน้าสำนักงานเขตสาทร ซอยถนนเซนต์หลุยส์ 101 มคก./ลบ.ม.
6.เขตยานนาวา ใกล้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักงานใหญ่ 100 มคก./ลบ.ม. 7.ภายในสำนักงานเขตหลักสี่ 95 มคก./ลบ.ม. 8.เขตปทุมวัน หน้าห้างสามย่านมิตรทาวน์ 93 มคก./ลบ.ม. 9.เขตสัมพันธวงศ์ วงเวียนโอเดียน 92 มคก./ลบ.ม. 10.ภายในสำนักงานเขตคลองเตย 91 มคก./ลบ.ม. 11.แยกมไหศวรรย์ 91 มคก./ลบ.ม. 12.ด้าน หน้าโรงพยาบาลลาดกระบัง 90 มคก./ลบ.ม. 13.เขตคลองสาน บริเวณหน้าห้องสมุดใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน 90 มคก./ลบ.ม. 14.เขตตลิ่งชัน ถนนพุทธมณฑลสาย 1 ตัดกับถนนบรมราชชนนี 90 มคก./ลบ.ม. 15.ภายในสำนักงานเขตบางขุนเทียน 90 มคก./ลบ.ม. เป็นต้น
ทั้งนี้ มีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง คาดการณ์แนวโน้มสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่น PM 2.5 คาดว่าอัตราการระบายอากาศในช่วงวันที่ 2-4 ก.พ.จะไม่ดี/อ่อน เนื่องจากเพดานอากาศต่ำ เกิดสภาวะอากาศปิดอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดการสะสมของฝุ่นละออง PM 2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหรือลดลงสลับกันในช่วงนี้ สำหรับช่วงวันที่ 5-8 ก.พ. คาดว่าอัตราการระบายอากาศจะดี มีฝนบางพื้นที่ จากทิศใต้ และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยพัดเข้ามาปกคลุมแทนที่ลมหนาว ส่วนมวลอากาศเย็นที่แผ่ปกคลุมเริ่มมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้น กลางวันอากาศร้อน ส่งผลให้เกิดการสะสมของฝุ่นละออง PM 2.5 มีแนวโน้มลดลง
ส่วนที่บริเวณ ต.หน้าพระลาน อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี พบปริมาณฝุ่น PM 2.5 เกินค่ามาตรฐานจากผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศในพื้นที่ ต.หน้าพระลาน เมื่อ 3 ก.พ. พบปริมาณฝุ่นละอองไม่เกิน 10 ไมครอน หรือ PM 10 มากถึง 304 มคก./ลบ.ม. และพบปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 ถึง 114 มคก./ลบ.ม. อยู่ในเกณฑ์มีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยฝุ่นละอองที่ฟุ้งกระจายส่วนใหญ่มาจากการขนส่งและการระเบิดหิน
ทั้งนี้ พื้นที่ ต.หน้าพระลานเป็นเขตควบคุมมลพิษตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 มีปัญหามลพิษหลักคือ ฝุ่นละอองที่มาจากการประกอบกิจการโรงงาน โม่ บด ย่อยหิน กิจการเหมืองหิน โรงงานปูนซีเมนต์และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง จึงจำเป็นต้องมีการเฝ้าระวังสถานการณ์ในพื้นที่เป็นพิเศษและต้องมีการแก้ปัญหาเฉพาะพื้นที่
นายรวมทรัพย์ คะเนะดะ ผอ.สนง.สิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 8 เปิดเผยว่า ได้ติดตามเฝ้าระวังและรายงานสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ประจำวัน จากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ ของสำนักงาน ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ราชบุรี ระหว่างวันที่ 31 มค.- 3 กพ.66 พบว่า มีค่าปริมาณฝุ่น PM2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง เกินค่ามาตรฐาน 50 มคก.ลบ.ม. และเน้นย้ำการป้องกันและลดการเกิดมลพิษที่ต้นทาง โดยให้หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายดำเนินการบังคับใช้กฎหมายโดยเคร่งครัด เช่นการเผาในที่โล่ง เผาไร่อ้อย เผาตอซังข้าว เผาเศษวัสดุทางการเกษตร กิ่งไม้ ใบไม้ และเผาขยะมูลฝอย
คุณกำลังดู: ฝุ่นพิษหนาทึบ คนกทม.กระอัก 70 พื้นที่กรุงฯ "ชัชชา" ติถกแก้แผนฝนหลวง ช่วยภาคเหนือ
หมวดหมู่: ภูมิภาค
แหล่งที่มา: https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/2620600