บลจ.ยูโอบี ชี้เงินเฟ้อพุ่ง ดันบอนด์ยิลด์ไทย 10 ปี ไต่ระดับสู่2.25% - 2.50%
บลจ.ยูโอบี แนะระวังการลงทุนตราสารหนี้ ใน 1-2 ไตรมาสจากนี้ หลังบอนด์ยิลด์ไทย 10 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญสู่ระดับ 2.25% - 2.50% เหตุเงินเฟ้อเร่งตัวทั่วโลก ทำให้ธนาคารกลางหลักจำเป็นต้องกลับมาดำเนินนโยบายทางการเงินเข้มงวดและทำคิวทีเร็วกว่าที่คาด

นางอรพรรณ ตัณฑประศาสน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์และพัฒนาผลิตภัณฑ์การลงทุน บลจ.ยูโอบี (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า บลจ.ยูโอบี มีมุมมองการลงทุนตราสารหนี้ในประเทศอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นโดยมีลักษณะชันมากขึ้น (Bear Steepening)
โดยอัตราผลตอบแทนระยะสั้นช่วงอายุ 0-2 ปี เคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 0.60% - 0.80% ใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายโดยปรับขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ที่อยู่ในช่วง 0.50% - 0.70%
ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทย อายุ 10 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญสู่ระดับ 2.25% - 2.50% เป็นผลมาจากปัจจัยเงินเฟ้อที่ยังคงเร่งตัวทั่วโลกและทำให้ธนาคารกลางหลักจำเป็นต้องกลับมาดำเนินนโยบายทางการเงินที่เข้มงวดเร็วและถอนสภาพคล่อง (QT) เร็วกว่าที่คาดไว้
ทั้งนี้เรามองว่าระยะ 3-6 เดือนข้างหน้าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรไทยจะมีลักษณะชันมากขึ้น (Steepening) ได้อีก โดยผลตอบแทนระยะสั้นมีแนวโน้มทรงตัวตามทิศทางการดำเนินดอกเบี้ยนโยบายที่มีแนวโน้มคงระดับที่ 0.50% ต่อไปเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังเปราะบางและยังไม่สามารถกลับไปขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้เร็วๆนี้
ในขณะที่อัตราผลตอบแทน 10 ปี มีแนวโน้มปรับขึ้นได้
ตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล 10
ปีของทางสหรัฐที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นจากทิศทางการดำเนินนโยบายทางการเงินที่เข้มงวดขึ้นของ
Fed
รวมถึงระดับเงินเฟ้อที่ยังคงเร่งตัวสูงจนกว่าเงินเฟ้อจะผ่านจุดสูงสุดในไตรมาส
2-3
สำหรับมุมมองการลงทุนตราสารหนี้ต่างประเทศ บลจ.ยูโอบี เห็นว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐเปลี่ยนแปลงในลักษณะ Bear Flattening อย่างต่อเนื่องในไตรมาส 1 โดยอัตราผลตอบแทนระยะสั้นอายุ 2 ปี ปรับตัวขึ้นแรงสู่ระดับ 2.00%-2.25% สะท้อนตลาด Priced-In การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่เร็วขึ้นของ Fed โดยมองว่า Fed อาจจะขึ้นดอกเบี้ยในปี 2022 ได้ 6-7 ครั้งมากกว่าเมื่อตอนสิ้นปีที่แล้วที่มองว่าอาจจะขึ้นได้เพียง 2-3 ครั้ง
ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐรุ่นอายุ 10 ปี นั้นค่อนข้างผันผวนโดยปรับตัวลดลงสู่ระดับ 1.60% - 1.70% ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ตามภาพ Risk-Off Flow เข้าสู่สินทรัพย์ปลอดภัยเป็นผลมาจากความตึงเครียดของสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนก่อนที่จะปรับตัวขึ้นไปอยู่ในกรอบ 2.00%-2.25% ในช่วงเดือนมีนาคมหลังสงครามเริ่มดูคลี่คลายไปในทิศทางสันติวิธีมากขึ้นรวมถึงเงินเฟ้อที่ยังคงเร่งตัวแรงอยู่ ทั้งนี้เรามองว่าอัตราพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี จะปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 2.50% – 2.75% ในไตรมาสหน้า โดยเงินเฟ้อที่ยังคงเร่งตัวสูงและการลดขนาดสินทรัพย์ของ Fed จะเป็นปัจจัยกดดันให้อัตราพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 10 ปีเพิ่มสูงขึ้น
อย่างไรก็ตามต้องจับตาและให้ความสำคัญต่อปัจจัยเงินเฟ้อที่อาจจะส่งผลต่อคาดการณ์การเติบโตเศรษฐกิจในระยะข้างหน้าจนอาจจะเกิดภาพ Inverted Yield Curve ให้เห็นกันอีกครั้งหนึ่ง
ในส่วนของตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนกลุ่ม Investment Grade
เรายังคงน้ำหนักลงที่ระดับ Slightly Underweight
เนื่องจากสภาวะเงินเฟ้อที่ยังเร่งตัวอยู่ในระดับสูงจนกดดันอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงอยู่ในระดับต่ำมากทำให้ความน่าสนใจในการลงทุนลดน้อยลง
ประกอบเมื่อพิจารณาอายุตราสารเฉลี่ย (Duration)
ในเชิงเปรียบเทียบกับตราสารหนี้ภาคเอกชนกลุ่ม High Yield พบว่ากลุ่มที่เป็น Investment Grade มี Duration ที่ยาวกว่าเกือบ 2 เท่า ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่มากกว่ากลุ่ม High Yield สำหรับการลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชนกลุ่ม High Yield นั้นยังคงเผชิญกับแรงกดดันจากปัญหาการผิดนัดชำระหนี้ของบรรดาผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในจีนอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตามท่าที่จากฝั่งรัฐบาลเริ่มผ่อนปรนมากขึ้นกว่าก่อนหน้านี้ ในขณะที่ในฝั่งประเทศพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐถือว่ายังมีโมเมนตัมที่ดีสอดคล้องไปกับภาพเศรษฐกิจที่แม้ว่าจะชะลอตัวลงแต่ยังสามารถเติบโตได้ดีและคงมุมมองจากที่ระดับ Neutral เนื่องจาก Spread รวมถึงอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงยังถือว่าอยู่ในระดับที่น่าสนใจกว่ากลุ่ม Investment Grade
ทั้งนี้ ในช่วง 1 – 2 ไตรมาสนับจากนี้
การลงทุนในตราสารหนี้อาจจะต้องเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้นและอาศัยการคัดสรรตราสารที่มากขึ้น
(Selection) โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้าน ESG
เพื่อคัดกรองบริษัทที่มีคุณภาพและช่วยลดความผันผวนและ Downside
จากการลงทุน
นอกจากนี้ให้จับตาดูความชัดเจนในเรื่องการดำเนินนโยบายทางการเงินซึ่งในปัจจุบันได้ Priced-In การขึ้นดอกเบี้ยไปมากพอสมควรแล้วและตลาดจะให้ความสำคัญเรื่องการลดขนาดสินทรัพย์ (Quantitative Tightening) ในระยะถัดไป นักลงทุนควรเลือกลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ที่มีอายุเฉลี่ยของกองทุนไม่ยาวมากนัก หรือลงทุนในกองทุนตลาดเงินที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้คุณภาพ เพื่อลดความผันผวนให้พอร์ตการลงทุนโดยรวมและรอจังหวะกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่น เมื่อความชัดเจนในเรื่องนโยบายการเงินและทิศทางอัตราดอกเบี้ยมีมากขึ้น
บลจ.ยูโอบี (ประเทศไทย) แนะนำทางเลือกการลงทุนในกองทุนตลาดเงิน กองทุนเปิด ไทย แคช แมเนจเม้นท์ ชนิดเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป (TCMF) และ กองทุนเปิด ไทย แคช แมเนจเม้นท์ ชนิดเพื่อผู้ลงทุนนิติบุคคล (TCMF-I) ระดับความเสี่ยง 1 กองทุนมีนโยบายมุ่งเน้นลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งเงินฝาก และ/ หรือ ตราสารหนี้ระยะสั้น ทั้งภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และ/หรือ ภาคเอกชน เหมาะกับนักลงทุนทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่ต้องการบริหารเงินให้มีสภาพคล่องสูงและได้ดอกผลสูงกว่าเงินฝากระยะสั้น เหมาะกับการในภาวะที่ตลาดผันผวน โดยกองทุน TCMF และ TCMF-I สามารถสร้างผลการดำเนินงานย้อนหลัง 1 ปี ที่ 0.42% ข้อมูล ณ 28 กุมภาพันธ์ 2565
คุณกำลังดู: บลจ.ยูโอบี ชี้เงินเฟ้อพุ่ง ดันบอนด์ยิลด์ไทย 10 ปี ไต่ระดับสู่2.25% - 2.50%
หมวดหมู่: การเงิน การธนาคาร
แหล่งที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/business/1000369
บทความที่เกี่ยวข้อง:
- "BIS" เคาะราคาไอพีโอ 6.00 บาทต่อหุ้น เปิดจอง 25-28 เม.ย. นี้
- บลจ.เกียรตินาคินภันทร ชูการลงทุนเชิงรุกในตราสารหนี้ระยะสั้น ลดความผันผวน
- RATCH เตรียมจัดประชุมผถห. 27 เม.ย. นี้ อนุมัติเพิ่มทุนไม่เกิน 769.23 ล้านหุ้น
- พาณิชย์ จับมือจุฬาฯ สร้างงานวิจัยขายได้
- บล.บัวหลวง เปิดตัว 2 DR ใหม่ สร้างโอกาสลงทุนกองทุนหุ้นเทคฯ ชั้นนำในสหรัฐ-จีน
- กรมการค้าต่างประเทศ ดันสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยขึ้นห้าง เพิ่มช่องทางตลาด